ศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคเหนือตอนบน

เชียงใหม่ | ลำพูน | ลำปาง | แพร่ | น่าน | เชียงราย | พะเยา | แม่ฮ่องสอน

เลือกวันที่
แผนผังลุ่มน้ำน่าน
19 เมษายน 2567 ปริมาณน้ำฝน
สถานี (Station) มิลลิเมตร (mm.)
เฉลี่ย
20 เมษายน 2567 ระดับน้ำและปริมาณน้ำ
สถานี(station) เวลา(time) ระดับน้ำ ม.(ร.ส.ม.) Level-AD. ปริมาณน้ำ ลบ.ม./วิ (cms.)



หมายเหตุ :
การเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ จ.น่าน
การเตือนภัยน้ำท่วมเมืองน่าน
แม่น้ำน่านมีต้นน้ำจากดอยภูแวไหลผ่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ทุ่งช้าง อ.เชียงกลาง อ.ท่าวังผา และเมืองน่าน ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์การเตือนภัย คือ
1. ข้อมูลน้ำฝน จาก อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ปัว อ. เชียงกลาง อ.สองแคว อ.ทุ่งช้างและ อ.ท่าวังผา รวม 6 อำเภอ โดยนำข้อมูลน้ำฝนที่ วัดได้ใน 1 วันมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยของทั้ง 6 อำเภอหากปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยมากกว่า 75 มิลลิเมตร จะมีผลทำให้เกิดปริมาณน้ำหลากไหลลงสู่ แม่น้ำน่าน และมารวมกันที่สถานีวัดระดับน้ำ N.64 โดยใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ซึ่งปริมาณน้ำหลากดังกล่าว มีผลทำให้สถานีวัดระดับน้ำ N.64 มี ระดับน้ำสูงขึ้นวัดได้ประมาณ 9.50 เมตร และจะมากหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยดังกล่าว
2. ข้อมูลระดับน้ำ เมื่อระดับน้ำที่สถานีวัดระดับน้ำ N.64 บ้านผาขวาง อ.ท่าวังผา สูงถึงประมาณ 9.50 เมตรขึ้นไป อีกประมาณ 6- 7 ชั่วโมงต่อมาปริมาณน้ำจำนวนนี้จะเดินทางไปถึง สถานีวัดระดับน้ำ N.1 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองน่านโดยมีระยะทางห่างกันตามลำน้ำประมาณ 42 กม.และ จะมีผลทำให้ระดับน้ำที่ N.1 สูงขึ้นประมาณ 7.00 เมตร ด้วย ซึ่งระดับดังกล่าวจะทำให้ปริมาณน้ำเริ่มล้นตลิ่ง และไหลเข้าท่วมในเขตพื้นที่ลุ่มของเทศบาลเมืองน่าน ด้วยความสัมพันธ์เดียวกัน หากระดับน้ำที่สถานีวัดระดับน้ำ N.64 เริ่มสูงกว่า 9.50 ม. เมื่อใด หมายความว่าระดับน้ำที่สถานีวัดระดับน้ำ N.1 ก็จะสูงขึ้นมากกว่า 7.00 ม. ขึ้นไปด้วย เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมในตัวเมืองน่านและขยายพื้นที่ออกไปตามลำดับ ดังนั้น เมื่อทราบข้อมูลระดับน้ำสูงสุดที่สถานีวัดระดับน้ำ N.64 ก็จะทำให้สามารถพยากรณ์ ระดับน้ำสูงสุดที่จะเกิดขึ้นที่เมืองน่านได้ล่วงหน้าประมาณ 6-7 ชั่วโมง และหากทราบข้อมูลน้ำฝนจาก 6 อำเภอดังกล่าวด้วยแล้ว (ประมาณเวลา 09:00 น. ของวันนั้น) จะสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ราว 21 ชั่วโมงก่อนหน้า